ผู้เขียน หัวข้อ: ดูแลสุขภาพ: รู้ไหม! แม่ท้องฟันผุ อาจอันตรายต่อเด็กในท้อง  (อ่าน 595 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 204
    • ดูรายละเอียด
ฟันผุ หนึ่งในปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย จนหลายคนชินชาและคิดว่าเป็นเรื่องปกติ จึงไม่ใส่ใจ หรือตระหนักถึงความร้ายแรงของอาการนี้ บทความนี้ จะชี้ให้เห็นถึงความน่ากลัวของฟันผุและเหงือกอักเสบ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคุณแม่และทารกในครรภ์


ฟันผุ น่ากลัวกว่าที่คิด

ปัญหาช่องปาก เป็นปัญหาที่เมื่อเกิดขึ้น จะลดทอนคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าเกิดกับใคร หากฟันผุ มีเหงือกอักเสบ นอกจากจะมีอาการปวด เจ็บ ที่ผู้ป่วยรู้สึกได้แล้ว ยังกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น

    กินอาหารได้ยากหรือลำบากขึ้น
    รู้สึกเบื่ออาหาร
    ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
    ช่องปากมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
    รอยผุที่มองเห็นเด่นชัดจนกระทบต่อความมั่นใจ

สิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง อีกทั้งการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เวลาชีวิตที่เสียไปในการมาพบทันตแพทย์ตามนัดบ่อย ๆ ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย และหากมีโรคประจำตัว หรือกำลังป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ อยู่ การมีปัญหาช่องปากร่วมด้วยจะยิ่งทำให้การรักษาโรคหลักมีประสิทธิภาพลดลง และซับซ้อนมากขึ้น

แล้วทำไมในคุณแม่ท้องยิ่งต้องระวังปัญหาช่องปาก นั่นก็เพราะสภาพร่างกายของผู้หญิงตั้งครรภ์มีปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาช่องปากได้ง่ายขึ้น การดูแลรักษายากกว่าคนทั่วไป อีกทั้งคุณแม่ยังอาจส่งต่อความผิดปกติจากการติดเชื้อแบคทีเรียไปยังทารกในท้องได้ด้วย


ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ ถึงไม่ควรฟันผุ

ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ในทางกลับกัน ก็อาจทำให้เชื้อโรคในช่องปากบางกลุ่มเจริญเติบโตดีขึ้น ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับสุขภาพช่องปากของคุณแม่ได้

นอกจากนี้ เมื่อตั้งครรภ์จะมีภาวะปากแห้งมากขึ้น ซึ่งโดยปกติในปากมนุษย์จะมีน้ำลายที่มีสารฆ่าเชื้อโดยธรรมชาติอยู่ พอน้ำลายลดลง ก็จะยิ่งทำให้อัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นไปอีก

ภูมิคุ้มกันตก น้ำลายแห้ง ปากแห้ง ทำให้ร่างกายคุณแม่สู้เชื้อโรคได้ยาก

ปัจจุบัน พบว่ามีเชื้อโรคกลุ่มที่เจริญเติบโตได้ดีในช่องปากของคุณแม่ท้อง คือ เชื้อพรีโวเทลลา อินเตอร์มีเดีย (Prevotella intermedia) เป็นเชื้อที่เกี่ยวข้องกับโรคปริทันต์อักเสบหรือโรครำมะนาด โดยจะมีอัตราเติบโตกว่าในร่างกายผู้หญิงทั่วไปถึง 55 เท่า

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้คุณแม่ท้องมีแนวโน้มสุขภาพช่องปากไม่ดี ได้แก่

1.   อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

การอาเจียนเอาอาหารที่กินเข้าไปพร้อมกรดในกระเพาะอาหาร ย้อนกลับออกมาผ่านช่องปาก จะทำให้สภาวะในช่องปากมีแนวโน้มเป็นกรดอยู่เกือบตลอดเวลา เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปากได้อย่างดี อีกทั้งการแพ้ท้องยังทำให้คุณแม่ท้องหลาย ๆ คนไม่อยากแปรงฟัน เพราะเวลาแปรงฟันไปกระตุ้นให้รู้สึกอยากอาเจียน ทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากทำได้ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีโอกาสฟันผุและเหงือกอักเสบมากขึ้น


2.    สภาวะอารมณ์ที่อ่อนไหว

เพราะระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง ไหนจะรู้สึกไม่สบายตัว สภาพร่างกายที่กำลังอ่อนแอ สุขภาพจิตก็ไม่ดี ทำให้การดูแลเอาใจใส่ตัวเองลดลงตามไปด้วย กิจวัตรประจำวันที่เคยทำ เช่น ตื่นแต่เช้า รดน้ำต้นไม้ ออกกำลังกาย ก็รู้สึกไม่อยากทำแล้ว ทำให้สุขภาพในช่องปากย่ำแย่ไปด้วย

ที่สำคัญ มีงานวิจัยระบุว่า หากช่องปากของคุณแม่ท้องมีปัญหา ติดเชื้อรุนแรง ด้วยร่างกายที่อ่อนแออยู่แล้ว อาจส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ น้ำหนักตัวแรกเกิดของลูกต่ำ ดังนั้น การไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี อาจส่งผลไปถึงลูกน้อยได้


แม่ฟันผุ ลูกในท้องเสี่ยงมากขึ้น จริงหรือ?

คุณแม่กับลูกในท้องจะมีความเชื่อมโยงกันทางกายภาพ ถ้าคุณแม่มีฟันผุมาก แสดงว่ามีเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มที่ทำให้ฟันผุอยู่ภายในช่องปากและร่างกายมาก เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถส่งต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนได้เช่นกัน ทำให้คุณแม่สามารถส่งต่อเชื้อไปสู่ลูกได้ โดยมีการศึกษาพบว่า เด็กวัยประถมในกลุ่มที่แม่มีฟันผุเยอะ จะมีอัตราฟันผุสูงมากกว่าเด็กทั่วไป


อัตราฟันผุแม่สูง = อัตราฟันผุของเด็กที่เกิดมาก็จะสูง

ในเด็กที่รับเชื้อฟันผุจากแม่ หากไม่ดูแลช่องปากให้ดี ไม่แปรงฟันทำความสะอาดอย่างถูกวิธี พ่อแม่ปล่อยให้กินขนมหรือน้ำหวาน ๆ จะทำให้มีปัญหาช่องปากได้ง่ายมาก และเมื่อลูกฟันผุ ก็จะเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวได้มากกว่าที่คิด

-    ผลกระทบต่อตัวเด็กโดยตรง

เมื่อเด็กฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นหนอง เด็กจะรู้สึกเจ็บปวด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ เด็กจะรู้สึกไม่สบาย หงุดหงิด พัฒนาการของเด็กจึงไม่ดีทั้งทางด้านสังคมและสุขภาพ การที่ฟันผุ เป็นรู ต้องอุดหรือต้องถอน จะทำให้เด็กเสียบุคลิกภาพ อาการเจ็บก็จะทำให้เด็กกินอาหารลำบาก ไม่อยากกินอาหาร ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้เจ็บป่วยง่ายตามมา


-    ผลกระทบต่อคุณพ่อคุณแม่

คุณพ่อคุณแม่เองย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องพาลูกไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ ต้องลางาน ขาดงาน หากมีลูกเล็ก เด็กอาจร้องงอแงในตอนกลางคืนเพราะความเจ็บปวด รบกวนการพักผ่อน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนทั้งครอบครัว

ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ป้องกันง่ายมาก เพียงแค่ดูแลช่องปากให้ดี แปรงฟันทำความสะอาด ควบคุมประเภทของอาหารที่กิน แค่นี้ก็จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกได้

แต่ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่หรือตัวเด็กเองอาจจะไม่รู้ว่าจะดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร ทำไมทำเหมือน ๆ กัน คนหนึ่งไม่มีปัญหา แต่คนหนึ่งก็ยังฟันผุอยู่ดี นั่นเพราะลักษณะทางกายภาพภายในช่องปากของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เทคนิคการดูแลช่องปากในแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน เป็นหน้าที่ของทันตแพทย์ที่จะต้องพิจารณาสภาพช่องปากในรายบุคคล และให้คำแนะนำเรื่องการดูแลอย่างเหมาะสม ถูกต้อง


เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรเตรียมตัวดูแลช่องปากอย่างไร?

เมื่อวางแผนมีลูก นอกจากการตรวจร่างกายและการเตรียมสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ควรมาตรวจฟันกับทันตแพทย์ด้วย เพื่อตรวจสภาพช่องปากว่าสามารถทำความสะอาดคราบแบคทีเรียได้ดีหรือยัง มีโรคในช่องปากหรือไม่ แล้วรับคำแนะนำและการรักษาก่อนตั้งครรภ์ เพราะหากช่องปากมีปัญหาขณะกำลังตั้งครรภ์ การรักษาจะทำได้ยากกว่า นอกจากนี้ เมื่อตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ก็ควรมาตรวจฟันอย่างสม่ำเสมอ ตามคำแนะนำด้านล่าง

    ไตรมาสแรก : ตรวจฟัน 2 ครั้ง
    ไตรมาสที่สอง : ตรวจฟัน 1 ครั้ง
    ไตรมาสที่สาม : ตรวจฟัน 1 ครั้ง


ทำไมการมาตรวจฟันในทุกไตรมาสจึงจำเป็น

นั่นก็เพราะทุก ๆ ไตรมาสที่เปลี่ยนไป สภาพช่องปากของคุณแม่จะเปลี่ยนไปด้วย ทันตแพทย์จะคอยดูแลให้คำแนะนำว่าสภาพช่องปาก ณ ขณะช่วงที่มาตรวจ ควรดูแลอย่างไรจึงจะเหมาะสม

หากระหว่างตั้งครรภ์มีโรคหรือปัญหาช่องปาก ให้มาพบทันตแพทย์เพื่อช่วยประคับประคองสุขภาพช่องปากไม่ให้โรคลุกลาม แล้วจึงมาทำฟันและรักษาหลังจากคลอด ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน เช่น ติดเชื้อในช่องปากรุนแรง พิจารณาแล้วว่าอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต สามารถมาทำฟันและรักษาได้เลย

โดยระยะครรภ์ที่เหมาะสมที่จะทำฟันอยู่ในไตรมาสที่สอง นั่นเพราะในไตรมาสแรกคุณแม่จะมีโอกาสแท้งสูง ส่วนในไตรมาสที่สามขนาดท้องอาจจะใหญ่มาก การนอนบนเตียงทำฟันนาน ๆ อาจทำให้คุณแม่อึดอัดและเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำจนเป็นลมได้ เนื่องจากน้ำหนักตัวเด็กไปกดเส้นเลือดด้านหลังช่องท้อง

ดูแลสุขภาพ: รู้ไหม! แม่ท้องฟันผุ อาจอันตรายต่อเด็กในท้อง  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.healthyhitech.net/

 

Tage: ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google