ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทุกคนน่าจะเห็นแล้วว่า เทคโนโลยีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มากขนาดไหน และบทเรียนสำคัญที่เราได้รับมากที่สุดจากสถานการณ์นี้ก็คือการเรียนรู้ไม่จำเป็นจะต้องถูกจำกัดอยู่ในห้องเรียนอีกต่อไป ดังนั้น เราจึงได้เห็นว่าธุรกิจการเรียนรู้ออนไลน์ หรือเทรนด์การเรียนรู้ด้วยตัวเองเกิดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด
นอกจากการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดในห้องเรียนแล้ว วิธีการเรียนรู้ของคนก็เปลี่ยนไปอีกด้วยหนึ่งในวิธีการเรียนที่คิดว่าเหมาะสมกับโลกในยุคปัจจุบันคือ Flipped Classroom (ห้องเรียนกลับด้าน) คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบคล้ายกับการสอนออนไลน์ นักเรียนเรียนรู้บทเรียนจากวิดีโอการสอนและศึกษา คิด วิเคราะห์ ด้วยตนเองจากที่บ้าน ก่อนมาทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ในห้องเรียน
ตามพีระมิดการเรียนรู้ของ Bloom’s Taxonomy ได้บอกว่า การเรียนจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ลึกซึ้งขึ้น สามารถอยู่ในขั้นของการประยุกต์ (Applying) และวิเคราะห์ได้ (Analying) ในระหว่างที่เรียนอยู่ เพราะเขาได้มีเวลาในการแลกเปลี่ยนร่วมกับเพื่อน และครู อีกทั้งยังสามารถเกิดการเรียนรู้ในระดับของการประเมิน (Evaluting) และนำไปใช้สร้างสรรค์ ต่อยอดสิ่งใหม่ได้ (Creating) หลังจากที่เรียนเสร็จแล้วอีกด้วย ซึ่งในส่วนของขั้นจดจำ (Remembering) และเข้าใจ (Understanding) ซึ่งเป็นขั้นบนของพีระมิดการเรียนรู้นั้น นักเรียนสามารถศึกษาได้เองก่อนที่จะมาเข้าชั้นเรียนแล้ว โดยที่ครูไม่ต้องเสียเวลาสอนอีกครั้ง
ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้ คุณครูสามารถใช้ควบคู่ไปกับ Starfish Labz แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ที่มีคอร์สการเรียนรู้ที่เหมาะกับเด็กๆ ได้โดยสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้ดังนี้
1. ก่อนที่จะเริ่มสอน ขอให้คุณครูออกแบบแผนการสอนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และเลือกสื่อที่จะใช้กับกลุ่มนักเรียนเป้าหมาย เช่น ครูต้องการให้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่ของพลเมือง
2. คุณครูเตรียมวิดีโอการสอน ตามหัวข้อที่กำหนด หรืออาจจะอัดวิดีโอของตัวเองก็ได้ (บทเรียนเรื่องสิทธิ หน้าที่ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยสำคัญอย่างไร
3. คุณครูส่งวิดีโอการสอนให้กับนักเรียน และชี้แจงว่าเนื้อหาในวิดีโอจะนำมาพูดคุยกันในห้องเรียน ในขั้นตอนนี้คุณครูอาจสร้างกิจกรรม หรือแจกแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ลองทำก่อนการสอนในห้องเรียน ซึ่งใน Starfish Labz มีใบความรู้และแบบทดสอบท้ายบทให้นักเรียนได้ฝึกฝนทำอยู่แล้ว
4. คุณครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยน ซักถามข้อสงสัยในสิ่งที่ได้ศึกษามาจากคลิปวิดีโอ เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร
5. คุณครูแบ่งกลุ่มนักเรียน และให้หัวข้อที่เชื่อมโยง หรือต่อยอดจากเนื้อหาในคลิปวิดีโอที่ทำให้นักเรียนได้นำไปใช้ชีวิตจริงได้ ซึ่งผลงานของนักเรียนอาจจะออกมาในรูปแบบของสื่อที่หลากหลาย เช่น การนำเสนอผ่าน Canva หรือเป็นโครงการก็ได้ และให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่ม
6. คุณครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงาน และเปิดพื้นที่ให้เพื่อนคนอื่นได้แลกเปลี่ยนกัน
ซึ่งหลังจากจบคาบเรียนแล้ว คุณครูจะต้องกลับมาประเมินห้องเรียนของตนเองว่าสามารถไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ มีอะไรที่จะต้องปรับปรุงเพื่อที่จะให้นักเรียนไปถึงเป้าหมายได้อีกมาถึงตรงนี้ คุณครูจะเห็นว่าเทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนที่คุณครูแต่เข้ามาเป็นตัวช่วยให้คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Flipped Classroom ห้องเรียนกลับด้านด้วยเทคโนโลยีการศึกษา อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/