ทำความรู้จักระบบท่อภายในอาคารมีอะไรบ้าง
เมื่อพูดถึง น้ำ คือปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัย จำเป็นจะต้องมีการวาง “ระบบน้ำ” มาใช้ด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับอาคารบ้านเรือนทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานและสะดวกต่อการบำรุงรักษา ดังนี้การก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบสุขาภิบาล (Sanitary System) ที่มีความสำคัญต่ออาคารในแง่การจัดการระบบน้ำภายใน และภายนอกอาคารทุกรูปแบบให้เป็นสัดส่วน สามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยไม่เป็นอันตราย อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อผู้คนที่อาศัยภายในอาคารในด้านปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีในการอยู่อาศัยการจัดการน้ำเสียทั้งภายในอาคาร และภายนอกอาคารนั้น จะต้องคำนึงถึงการจัดวางระบบสุขาภิบาลที่เป็นกิจลักษณะ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักระบบท่อภายในอาคารมีอะไรบ้าง เรามาเริ่มกันเลยค่ะ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ระบบสุขาภิบาล (Sanitary System) คืออะไร
ระบบสุขาภิบาล คือ ระบบที่เกี่ยวกับระบบน้ำภายในอาคารไม่ว่าจะเป็นน้ำดี เช่น น้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค และน้ำเสียหรือน้ำใช้แล้วที่ต้องทำการระบายออก ระบบท่อในอาคาร มีหลากสี แต่ละสีจะแบ่งออกตามประเภทของน้ำและมีหลายขนาดเรามักพบเจอได้บ่อยตามลานจอดรถในอาคารหรือเพดานอาคารภายในห้างฯ ที่ เปิดโล่ง โดยใช้วิธีการแยกให้ทราบถึงคุณสมบัติ ประเภทการใช้งานด้วยอักษร สัญลักษณ์ย่อตามหลักสากลติดหรือพ่นสีไว้บนท่อการที่มีสัญลักษณ์ย่อไว้ที่ระบบท่อนั้นสะดวกต่อการใช้งานและง่ายต่อการบำรุงรักษา
ระบบสุขาภิบาลมี 7 ประเภท ดังนี้
1. ระบบน้ำดี หรือน้ำประปา (Cold water pipe system)
คือ ระบบท่อที่ใช้งานในการลำเลียงน้ำสะอาดไปใช้งานตามจุดต่างๆภายในตัวอาคารโดยต้องมีความดันและอัตราการไหลที่เหมาะสมกับความดันของสุขภัณฑ์ต่างๆภายในอาคารนั้นด้วย
2. ระบบท่อน้ำเสีย (Sewerage System)
คือ ระบบท่อระบายน้ำจากการใช้งานทั่วไป เช่น อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ น้ำสำหรับการอาบ เครื่องซักผ้า โดยระบบของท่อน้ำเสียนี้จะไม่รวมน้ำที่มีสิ่งปฏิกูลของมนุษย์
3. ระบบระบายน้ำโสโครก( Soil pipe system)
คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากห้องน้ำ เช่น โถส้วม หรือโถปัสสาวะออกจากพื้นที่และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร
4. ระบบระบายน้ำทิ้ง (Waste pipe system)
คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากกิจกรรมอื่นๆ ออกจากพื้นที่ และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร
5. ระบบบำบัดน้ำเสีย (Water treatment system)
คือระบบที่ใช้บำบัดน้ำจากการใช้งานภายในอาคาร ให้มีค่าดัชนีวัดค่าคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก่อนระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ
6. ระบบท่อระบายน้ำฝน( Rain drainage pipe system)
คือ ระบบท่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำฝนที่เกิดขึ้นกรณีฝนตก ออกจากตัวอาคาร
7. ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร (Building sewer system)
คือ ระบบท่อระบายน้ำบริเวณโดยรอบของอาคาร ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำออกจากบริเวณอาคารเข้าสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ
8. ระบบท่อระบายอากาศ (Vent pipe system) หรือเรียกสั้นๆ ว่าท่ออากาศ
คือ ระบบท่อ vent นี้จะติดตั้งเข้ากับระบบท่อระบายน้ำป้องกันปัญหาสุญญากาศในเส้นท่อระบายน้ำ ทำให้ระบบระบายน้ำในเส้นท่อสามารถระบายน้ำได้สะดวก
ต่อไปเรามาดูกันว่าท่อมีประเภทไหนบ้างที่เหมาะแก่การทำระบบสุขาภิบาล (Sanitary System)
ท่อประปาพีวีซี (PVC) หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า ท่อPVC น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า แต่ท่อPVC ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง ซึ่งท่อPVCยังมีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดของท่อPVCก็จะมีสีของท่อPVCแตกต่างกันไป แบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้
1. ท่อPVC สีฟ้า
เป็นท่อPVCที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
2. ท่อPVC สีเทา
เป็นท่อPVCที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน
3. ท่อPVC สีเหลือง
เป็นท่อPVCสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
4. ท่อHDPE หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ ท่อPE
เป็นท่อHDPE หรือ ท่อPE ที่มีลักษณะงอ ดัดโค้งได้ สามารถคดเคี้ยวไปมาตาม ลักษณะของตัวอาคาร วัสดุที่ใช้ผลิตตัวท่อจะเป็นเรซินพอลิเอทิลีน ซึ่งนั่นทำให้ ท่อHDPE หรือ ท่อPE แบบนี้มีความเหนียว มีความยืดหยุ่นสูง โค้งงอได้และยังสามารถทนความร้อนสูงได้ ท่อHDPEหรือ ท่อPEมีสีดำ ปัจจุบันท่อHDPE หรือ ท่อPE นิยมใช้ในงานการอุตสาหกรรม ระบบประปา รวมไปถึงก่อสร้างต่างๆความหนาของ ท่อHDPEหรือ ท่อPE มีหลายขนาดตามการใช้งาน โดยสี เส้นคาดข้างท่อHDPEหรือ ท่อPE เป็นตัวบอกลักษณะการใช้งานง่ายๆยกตัวอย่างเช่น ท่อHDPEหรือ ท่อPE สำหรับงานระบบน้ำ (คาดแถบสีฟ้า) , ท่อHDPEหรือ ท่อPE สำหรับงานระบบร้อยสายไฟฟ้า(คาดแถบสีส้ม) เป็นต้น
5. ท่อ PPR
เป็นท่อพลาสติกประเภทโพลีโพรไพลีน ที่มีการจัดเรียงตัวแบบไม่เจาะจง ทำให้ได้คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่ดีขึ้น ทนทาน สะอาดปลอดภัย ไม่เป็นสนิม เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายน้ำในงานระบบท่อน้ำประปา และระบบท่อน้ำร้อน เพราะสามารถรองรับอุณหภูมิที่สูงได้ นอกจากคุณสมบัติของ PP-R ที่ดีแล้ว ยังมีวิธีการติดตั้งเชื่อมท่อต่อท่อด้วยความร้อน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการรั่วซึมอีกด้วย
อย่างที่ทราบว่าน้ำมีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิต หากระบบน้ำในอาคารไม่ได้รับการจัดสรรที่ดีและถูกต้องตามมาตรฐาน ย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตและเกิดเป็นผลเสียตามมามากมาย เช่น น้ำไหลช้า หรือน้ำรั่วจนกระทบต่อโครงสร้างของอาคาร เป็นต้น
ระบบท่อในอาคาร หรือระบบสุขาภิบาลที่ดีนั้น ไม่ควรคำนึงถีงแต่เพียงความต้องการในการใช้งาน แต่จะมองระยะยาวไปถึงการบำรุงรักษาด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ถูกตำหนิจากคนอยู่อาศัยในภายหลังหากพบว่าระบบที่ดำเนินการไปแล้วนั้นไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงในการซ่อมแซมภายหลัง ซึ่งปัญหา น้ำรั่วซึม เป็นงานที่ซ่อมแซมยากพอสมควร ดังนั้น ระบบท่อในอาคารจึงต้องถูกออกแบบและควบคุมงานการเดินท่อ และติดตั้งให้ถูกต้อง ฉะนั้นระบบท่อจึงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญในงานก่อสร้างอย่างมาก ผู้ก่อสร้างจึงควรเลือกใช้ท่อที่มีมาตรฐานและคุณภาพดี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานหรืออยู่อาศัยในอาคาร หากผู้รับเหมาก่อสร้างใดต้องการ
บริหารจัดการอาคาร: ประเภท ระบบท่อภายในอาคารมีอะไรบ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/