ผู้เขียน หัวข้อ: โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: สัตว์กัด แมลงต่อย (Bites and stings)  (อ่าน 24 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 205
    • ดูรายละเอียด
โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: สัตว์กัด แมลงต่อย (Bites and stings)

แมงกะพรุนต่อย หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดจากการสัมผัสถูกแมงกะพรุนที่มีพิษ* โดยส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสถูกหนวดพิษ (tentacle)

หนวดพิษแต่ละเส้นจะมีเข็มพิษกระจายอยู่จำนวนมาก เข็มพิษจะบรรจุอยู่ในกระเปาะพิษ (nematocyst) ซึ่งจะมีน้ำพิษบรรจุภายใน และมีท่อนำพิษขดอยู่ โดยมีเข็มพิษอยู่ที่ปลายท่อ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังของผู้บาดเจ็บ หรือเกิดแรงกระทบกระเทือน กระเปาะพิษก็จะถูกกระตุ้นให้ปล่อยพิษ โดยยิงเข็มพิษนำออกไปก่อนเพื่อปักลงไปในผิวหนัง หลังจากนั้นจึงดันเอาท่อนำพิษเข้าสู่ผิวหนังให้ลึกขึ้นอีก แล้วดันน้ำพิษเข้าไปสู่รางกายของผู้บาดเจ็บ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น

การถูกพิษแมงกะพรุน มักเกิดจากการการสัมผัสถูกแมงกะพรุนขณะลงเล่นน้ำ ว่ายน้ำ หรือดำน้ำในทะเล ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการใช้มือเปล่าจับ หรือเดินเท้าเปล่าไปเหยียบถูกหนวดของแมงกะพรุนที่นอนอยู่บนหาดทราย (กระเปาะพิษบนหนวดของแมงกะพรุนที่ตายแล้ว หรือหนวดที่หลุดออกยังสามารถปล่อยพิษกับผู้สัมผัสได้)

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสัมผัสถูกแมงกะพรุนแท้ (True jellyfish อันเป็นแมงกะพรุนไฟวงศ์ Pelagiidae) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและมีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ จะมีเพียงอาการปวดแสบปวดร้อน หรือเป็นรอยแดงตามผิวหนัง ซึ่งมักจะหายได้เอง

ส่วนน้อยที่อาจถูกแมงกะพรุนที่มีพิษมาก บางรายอาจทำให้เกิดแผลเรื้อรัง และแผลเป็น

มีน้อยรายที่อาจสัมผัสถูกแมงกะพรุนกล่องที่มีพิษต่อหัวใจและระบบประสาท อาจทำให้เสียชีวิตได้**

ทั้งนี้ อาการรุนแรงมากน้อยขึ้นกับชนิดและขนาดของแมงกะพรุน ขนาดของพื้นผิวที่สัมผัส ระยะเวลาที่สัมผัสพิษ และปริมาณพิษที่ได้รับ

*ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ 19 เมษายน 2564 จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลแมงกะพรุนพิษ ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2564 โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบแมงกะพรุนพิษจำนวน 9 ชนิด ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะความเป็นพิษได้ 5 กลุ่ม เป็นแมงกะพรุนไฟ 2 กลุ่ม และแมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish) 3 กลุ่ม ดังนี้

1. แมงกะพรุนไฟวงศ์ Pelagiidae (มีชื่อทั่วไปว่า แมงกะพรุนแท้/True jellyfish) พบจำนวน 2 ชนิด มีรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ มีริ้วขอบร่ม มีลำตัวเป็นสีขาว สีแดงสด สีส้ม หรือหลากหลายสี มีหนวดที่ขอบร่ม (marginal tenacle) เป็นสายยาว และมีหนวดรอบปาก (oral arm) ห้อยย้อยลงมา ทำหน้าที่จับเหยื่อใส่ปาก พบได้ทั่วไปตลอดทั้งปี ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แมงกะพรุนชนิดนี้มีคนสัมผัสถูกบ่อยที่สุด และมีพิษน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน ไม่มีอันตรายร้ายแรง

2. แมงกะพรุนไฟวงศ์ Physaliidae (มีชื่อทั่วไปว่า แมงกะพรุนหัวขวด/Blue bottle jellyfish, แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส/Portuguese man-of-war) พบจำนวน 1 ชนิด มีลำตัวสีฟ้าอมชมพู ม่วง น้ำเงินหรือเขียว ส่วนบนของลำตัวที่ลอยโผล่พ้นน้ำ มีลักษณะเรียวรี ยาว คล้ายหมวกทหารเรือรบของโปรตุเกสในยุคก่อน ที่ขอบด้านบนสุดมีลักษณะเป็นสันย่น มีกลุ่มหนวดยาวสีฟ้าหรือสีม่วงออกมาจากด้านล่างเป็นสายยาวหลายเส้นเป็นพวงห้อยลงในน้ำ

ที่พบในทะเลไทยเป็นชนิด Physalia utriculus (เนื่องจากพบในมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย จึงมีชื่อเรียกว่า "แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก/Indo-Pacific Portuguese man-of-war") พบในฝั่งอ่าวไทยช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝั่งทะเลอันดามันช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน

แมงกะพรุนหัวขวดมีพิษร้ายแรงกว่าแมงกะพรุนทั่วไปข้างต้น พิษของแมงกะพรุนหัวขวดมีผลต่อระบบประสาท หัวใจ และผิวหนัง ทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก 

3. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chirodropidae พบจำนวน 3 ชนิด มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ มีสีฟ้าอ่อนหรือไม่มีสี ลักษณะโปร่งใสจนแทบมองไม่เห็น แต่ละมุมของรูปสี่เหลี่ยมมีลักษณะคล้ายขายื่นออกมา และแต่ละขาจะมีหนวดพิษงอกออกมา ซึ่งมีลักษณะแตกแขนงหลายเส้น (ประมาณ 12-15 เส้น) มีความยาวถึง 3 เมตร พบได้เกือบทุกจังหวัดในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนกลาง และทะเลอันดามัน (โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดตราด ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และเกาะสมุย เกาะพะงัน ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้)

แมงกะพรุนชนิดนี้มีพิษร้ายแรงที่สุด คือมีพิษรุนแรงต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อหัวใจ และการไหลเวียนของเลือดในปอด สามารถทำให้เสียชีวิตได้ แมงกะพรุนกล่องชนิดนี้ มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ต่อทะเล (sea wasp)"

4. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Carukiidae พบจำนวน 2 ชนิด มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์แบบเดียวกับวงศ์ Chirodropidae แต่มีหนวดพิษที่ยื่นออกจากมุมของรูปสี่เหลี่ยมเพียงมุมละเส้นเดียว (ไม่มีแตกแขนง) พบในเกือบทุกพื้นที่ และพบได้เกือบตลอดทั้งปี (โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะสมุย-เกาะพะงัน และทะเลอันดามัน)

มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดอย่างรุนแรง และอาจทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "กลุ่มอาการอิรูคันจิ (Irukandji syndrome)" เป็นเหตุให้จมน้ำง่าย

5. แมงกะพรุนกล่องวงศ์ Chiropsalmidae พบจำนวน 1 ชนิด มีรูปร่างมีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายลูกบาศก์ และมีหนวดแตกแขนงหลายเส้นแบบเดียวกับวงศ์ Chirodropidae แต่มีจำนวนเส้นน้อยกว่าและสั้นกว่า พบได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่เกาะสมุย-เกาะพะงัน และทะเลอันดามัน

มีพิษทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อนและเป็นผื่นแดง

**จากข้อมูลสถิติการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2564 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 10 ราย บาดเจ็บรุนแรงจำนวน 36 ราย ในพื้นที่หลายจังหวัดที่อยู่ตามฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

 

Tage: ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google